ในรัชสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ แม่ทัพนายกองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขยายอาณาเขตของราชวงศ์ฉิน การรบกับเผ่าเยฺว่ทางใต้เมืองฉู่ทำให้ดินแดนไป่เยฺว่ในหูหนานและกวั่งตงตกเป็นของฉิน ส่วนการรบกับพวกซฺยงหนูในเอเชียกลางส่งผลให้ฉินได้ดินแดนเอ้อเอ่อร์ตัวซือ แม้จะนำไปสู่การรวมดินแดนของมั่วตู๋ ฉันยฺหวี ผู้นำซฺยงหนูในภายหลัง
จิ๋นซีฮ่องเต้ยังมีอำมาตย์ราชเสวกผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น หลี่ ซือ เจ้าพระยามหาอุปราช คอยช่วยปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อจัดระเบียบประเพณีอันหลากหลาย ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์เผาตำราและฆ่าบัณฑิต
พระองค์ยังทรงรวมกำแพงเมืองกระจัดกระจายให้เป็นกำแพงเมืองจีน สร้างระบบถนนหนทางใหม่ และสร้างสุสานหลวงอันยิ่งใหญ่พร้อมกองทัพทหารดินเผา
ตลอดรัชสมัย จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงหมกมุ่นอยู่กับการเสาะแสวงหาน้ำอมฤต แต่สุดท้ายก็สวรรคตในปี พ.ศ. 210
จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงสร้างผลงานมากมาย แต่ก็สร้างความเกลียดชังจากนโยบายที่โหดร้าย
อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ผลงานของพระองค์ยังคงส่งผลต่อจีนมาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวเกิดขึ้นย้อนกลับไปสามร้อยกว่าปีก่อนคริสตกาล แคว้นฉินซึ่งเป็นแคว้นที่อ่อนแอ และยากจนที่สุดในบรรดาแคว้นทั้งเจ็ด จนแคว้นทั้งหกที่เหลือต่างดูแคลนและไม่ยอมคบหาเป็นพันธมิตรด้วย หากแต่ว่า ชาวฉินมีจิตรใจที่ห้าวหาญ พร้อมที่จะสู้รบจนเลือดหยดสุดท้าย แม้กำลังน้อยยังสามารถทานกองกำลังที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่าได้ แต่ด้วยการรบพุ่งอย่างต่อเนื่องยาวนานร่วมสามสิบปี ชาวบ้านยากจนอดอยาก ยิ่งด้วยระบบการปกครองแบบทาสในศักดินาแล้ว ชาวบ้านธรรมดาแม้จะร่วมรบ ร่วมตายในสนามรบ หากแต่พวกเขาไม่เคยได้รับความดีความชอบซึ่งตกอยู่ในกลุ่มคนเพียงไม่กี่ ตระกูล
จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นหลังจากการสู่รบที่ “ศึกเส้าเหลียง -少梁之战” เมื่อแคว้นฉินถือโอกาสเข้าตีแคว้นเว่ยในจังหวะที่แคว้นเว่ยกำลังสู้รบติดพัน กับแคว้นหานและแคว้นจ้าว แต่แคว้นฉินก็พ่ายแพ้อย่างรบคาบพร้อมทั้งสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่แคว้น เว่น ส่วนหยิงซือซี่ ผู้นำแคว้นฉินต้องจบชีวิตด้วยธนูอาบยาพิษ ก่อนเสียชีวิตนั้น ได้แต่งตั้งให้ลูกชายคนรอง – หยิงชวีเหลียง(嬴渠梁)ซึ่งมีความสุขุม รอบรอบมากกว่าพี่ใหญ่ที่มุ่งแต่จะใช้กำลังและมีจิตใจคับแคบขึ้นครองอำนาจต่อ หยิงชวีเหลียง (嬴渠梁)ต้องการที่จะสร้างความเข้มแข็งและความมั่งคั่งให้แก่แคว้นฉิน จึงได้หาผู้รู้จากทั่วหล้ามาช่วย และก็ได้ชายหนุ่มเว่ยยาง (卫鞅)ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ไม่ได้รับความสนใจของแคว้นเว่ย ก่อนที่เว่ยยางจะเข้าเฝ้าหยิงชวีเหลียงนั้น เขาได้เดินทางท่องทั่วแคว้นฉิน เพื่อคลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน ศึกษาปัญหาต่างๆ ซึ่งถือเป็นการทำการบ้านข้อใหญ่ที่เขาได้เตรียมการก่อนที่จะช่วยแคว้นฉินทำ การปฏิรูปบ้านเมืองอย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน
โดยเริ่มต้นจากการปฏิรูปที่ดินด้วยการจัดสรรที่ทำกินให้กับคนยากคนจนทุกคน ยึดเอาทีดินของตระกูลใหญ่ต่างๆจัดสรรให้กับชาวบ้าน เลิกระบบทาสให้ทุกคนเป็นอิสระ มีความเสมอภาคและภราดรภาค ปรับปรุงระบบภาษี การปูนบำเหน็จความดีความชอบที่มอบให้อย่างเสมอภาคกันไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือ ชาวบ้านธรรมดา การกำหนดระบบมาตรฐานชั่ว ตวง วัด และระบบเงินตราให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และที่สำคัญคือ การออกกฎหมาย หรือว่ากันตามยุคสมัยใหม่แล้ว ก็คือการบัญญัติรัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ โดยเน้นย้ำการปกครองประเทศจะใช้ระบบกฎหมาย ไม่ใช่ระบบตัวบุคคล ที่ไหนมีการเปลี่ยนแปลง ที่นั่นยอมมีการสูญเสีย และเมื่อมีฝ่ายหนึ่งได้ ย่อมมีฝ่ายหนึ่งต้องเสีย การปฏิรูปของแคว้นฉินก็เช่นกัน ผู้ที่ชื่นชอบมากที่สุดคงหนี ไม่พ้นทาสและชาวบ้านธรรมดาที่สามารถลืมตาอ้างปากได้ ส่วนสมาชิกในวงตระกูลใหญ่และเหล่าขุนนางบางกลุ่มคือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดย ตรง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียในที่ดิน สูญเสียทาสที่เคยใช้งานได้โดยตัวเองแทบจะไม่ต้องทำอะไร และสูญเสียอภิสิทธิ์ที่เดิมที่แทบจะอยู่เหนือกฎเกณฑ์ต่างๆ
กลุ่มนี้จึงกลายเป็นขวากหนามและอุปสรรคอันใหญ่หลวงที่ค่อยปั่นป่วนบ้านเมือง ซึ่งมีทั้งประเภทเปิดหน้าชกกันตรงๆกับ กับอีกหลายๆคนที่อยู่เบื้องหลังทำตัวเป็น master mind คอยวางแผนบงการในฉากหลัง แต่ฉากหน้าคือผู้ให้การสนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มนี้มักจะร้องป่าวประกาศว่า กฎหมายใหม่ไม่เป็นธรรม จะต้องล้มให้ได้ และคณะทำการปฏิรูปได้ปล้นเอาทรัพย์สินของพวกเขาไป แต่เนื่องจากผู้ทำการปฏิรูปอย่างเว่ยยางมีความซื่อสัตย์ มือสะอาด แยกแยะระหว่างส่วนตัวกับส่วนรวม ทุ่มเททำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ แม้กระทั้งการออกกฎให้ข้าราชการงดรับของขวัญ หากจะต้องการอวยพรหรือแสดงความยินดีให้ทำเป็นหนังสือมาก็เป็นการเพียงพอ ห้ามสร้างรูปปั้นอนุสาวรีย์เพื่อเชิดชูยกย่องผู้นำ ข้าราชการคนใดฝ่าฝืนได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายเสมอภาคกัน การปฏิรูปดำเนินไปได้ยี่สอบกว่าปี ได้สร้างความมั่งคั่งและเข้มแข็งแก่ประเทศชาติและกองทัพ จนสามารถยึดคืนดินแดนที่เสียให้แก่แคว้นเว่ยจนเป็นที่เลื่องลือถึงความ เกรียงไกรของกองทัพไปทั่วทุกแคว้น ในระหว่างนั้นแคว้นอื่นๆหลายแคว้นก็ได้เอาอย่างทำการปฏิรูปตามๆกัน
แต่แคว้นเหล่านั้นไม่ได้ทำการปฏิรูปอย่างถอยรากถอนโคน ยังคงไว้ซึ่งระบบศักดินา การให้อภิสิทธิ์แก่ขุนนางและตระกูลใหญ่ หนึ่งในตัวอย่างคือแคว้นฉีที่ทำการปฏิรูปแล้วล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า แต่แคว้นฉินเองก็ต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ต่อต้านที่เก็บด้วยเงียบมาร่วมยี่สิบ ปี และมะเร็งร้ายเหล่านี้ถือโอกาสปะทุขึ้นมาเมื่อถึงคราวผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน โดยพวกเขาต่างหาวิธีทั้งทั้งทางลับและทางแจ้งเพื่อโค่นเว่ยยาง ศัตรูร่วมที่พวกเขาเคียดแค้น โดยวางกับดักให้เว่ยยางต้องโทษตามกฏหมายที่ตัวเองสร้างขึ้นเองจนถูกพิพากษา โทษตายด้วยการแยกร่างเป็นห้าส่วน แม้ว่าก่อนที่ผู้นำแคว้นฉิน – หยิงชวีเหลียงจะเสียชีวิตได้ออกคำสั่งลับเพื่อป้องกันและเปิดทางสะดวกให้แก่ เว่ยยางในด้านต่างๆแล้วก็ตาม แต่เว่ยยางปฏิเสธที่จะใช้อภิสิทธิ์นี้และขอเดินตามเส้นทางของกฎหมายที่ตัว เองได้ริเริ่มเอง เพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายแคว้นฉินสืบต่อไป – ประเทศต้องปกครองด้วยกฎหมาย และคงความเข้มแข็งของประเทศชาติต่อไป ไม่ต้องการให้ชาวฉินต้องฆ่าฟันหลั่งเลือดกันเอง หากจากหลั่งเลือดนั้น เลือดทุกหยดควรจะหลั่งในสนามรบ
ทำให้หยิงซื่อ (องค์ชายผู้สืบทอดอำนาจต่อ) สามารถธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายต่อไป อันเป็นรากฐานให้แคว้นฉินเติบใหญ่เข้มแข็งจนสามารถรวบรวมแคว้นทั้งเจ็ดเข้า เป็นหนึ่งเดียว และก่อตั้งเป็นราชวงศ์ฉินของฉินซีฮ่องเต้ในอีกประมาณร้อยปีต่อมา เมื่อชมภาพยนตร์นี้จบแล้ว ทำให้สะท้อนถึงประเทศสารขันฑ์ในทุกแง่มุม ทุกกลุ่ม ทุกสี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนายทุนตระกูลใหญ่ นักการเมืองที่บ้ายศบ้าอย่าง บ้าอำนาจ ขี้ฉ้อ นายทุน ศักดินาที่ถือครองที่ดินโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ความล้มเหลวในการปฏิรูปของแคว้นฉีน่าจะเป็นบทเรียนที่สะท้อนถึงการบริหาร ประเทศของประเทศสารขันฑ์ที่มักจะทำอะไรก้ำๆกึ่งๆ ไม่เด็ดขาด ลูบหน้าปะจมูก และที่สำคัญการไม่ยอมธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์ของกฎหมาย อันเป็นวิถีปฏิบัติของประเทศนี้มาแต่ต้น
ความวุ่นวายในทุกวันนี้คือผลพวงการตกผลึกของการปฏิรูปแบบแคว้นฉี หากเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนแซ่ตัวละครต่างๆในภาพยนตร์แล้ว มันก็คือบทบาทของบุคคลต่างๆที่โลดแล่นอยู่ในสังคมที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน นั่นเอง แต่น่าอนาถใจแท้ที่ผมกลับหาตัวละครที่สวมบทบาทของหยิงชวีเหลียงและเว่ยยาง ไม่เจอเลย เพราะประเทศสารขันฑ์กลับมีแต่นักปฏิวัติจอมปลอม